ไทยพลัสนิวส์ กินเค็มเกินวันละ 1 ช้อนชา เสี่ยงโรค
ไทยพลัสนิวส์ กินเค็มเกินวันละ 1 ช้อนชา เสี่ยงโรค
ไทยพลัสนิวส์ กินเค็มเกินวันละ 1 ช้อนชา เสี่ยงโรค กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือน การบริโภคโซเดียม ในปริมาณมากเกินกว่า 2,400 มิลลิกรัม หรือมากกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำ ในร่างกายทำให้มีความดันโลหิต สูงขึ้นส่งผลให้ไต และ หัวใจทำงานหนัก และ อาจจะส่งผลในระยะยาว ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคไต แทรกซ้อนตามมา พร้อมแนะวิธีลดปริมาณโซเดียม ในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้หัวใจและ ไต ทำงานหนัก
ไทยพลัสนิวส์ กินเค็มเกินวันละ 1 ช้อนชา เสี่ยงโรค
กินเค็มเกินวันละ 1 ช้อนชา เสี่ยงโรค ความดันสูง-โรคไต-หัวใจ
โซเดียมไม่เกิน 1 ช้อนชา ต่อวัน เสี่ยงโรค
อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ 400 มิลลิกรัม โดยร่างกาย มีความต้องการโซเดียมประมาณ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน
โซเดียม พบได้ในอาหารอะไรบ้าง ?
เกลือโซเดียม หรือ เกลือแกง
เครื่องปรุงที่ให้รสเค็ม เช่น น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ เต้าเจี้ยว ซอสมะเขือเทศ ฯลฯ
อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาร้า ปลาเค็ม เนื้อเค็ม เป็นต้น
ขนมอบกรอบ ผงชูรส มีเกลือโซเดียมแอบแฝงจำนวนมาก
อันตรายจากการบริโภค โซเดียมเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน
หากรับประทานอาหารที่เค็มจัดที่มีเกลือ โซเดียม หรือ เกลือแกงมากกว่า 6 กรัมต่อวัน หรือมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความดัน โลหิตสูงซึ่งในระยะยาวมีผล ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นมีโอกาส เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ ไตเสื่อม
ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในแต่ละวันไม่ควรบริโภค โซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งถ้าได้รับมาก ทำให้มีการคั่งของสารน้ำ ในร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และ ความดัน ในหลอดเลือดฝอย ของหน่วยกรอง ในไตสูงขึ้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นการที่ร่างกาย ได้รับโซเดียมในปริมาณที่พอเพียงไม่มากไม่น้อยจนเกินไป จะเกิดผลดีต่อการทำงานของควบคุม ความดันโลหิต ทำให้ลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่จะตามมา
วิธีลดปริมาณการบริโภค โซเดียม
หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด และ อาหารหมักดอง
ชิมอาหารทุกครั้ง ก่อนเติมเครื่องปรุง
เลือกบริโภคอาหารสด หรือ อาหาร ที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด
หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป และ ขนมขบเคี้ยว ที่มีเครื่องปรุงรสปริมาณมาก
ลดความถี่ของการบริโภคอาหาร ที่ต้องมีเครื่องปรุงน้ำจิ้ม และ ลดปริมาณน้ำจิ้ม ที่บริโภค
ทดลองปรุงอาหาร โดยใช้ปริมาณเกลือ น้ำปลา ตลอดจนเครื่องปรุงรสอื่น ๆ เพียงครึ่งหนึ่งที่กำหนดไว้ในสูตรปรุงอาหาร ถ้ารสชาติไม่อร่อยจริง ๆ จึงค่อยเพิ่มปริมาณ ของเครื่องปรุงรส
ควรปลูกฝังนิสัย ให้บุตรหลานรับประทานอาหารรสจืด โดยไม่เติมเกลือ ซีอิ๊วขาว น้ำปลา ตลอดจนซอสปรุงรสในอาหารเด็ก และ ทารก
ควรบริโภคอาหาร ที่มีปริมาณโปแตสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว และ ผลไม้ จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
อ้างอิง sanook
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น