ไทยพลัสนิวส์ ขอเสนอ แตงโม
ไทยพลัสนิวส์ ขอเสนอ แตงโม
ไทยพลัสนิวส์ ขอเสนอ แตงโม ถ้าหากพูดถึงผลไม้รสหวานฉ่ำ เมื่อรับประทานแล้วจะช่วยคลายร้อนและเพิ่มความสดชื่น หลายคนคงต้องนึกถึงแตงโมเป็นแน่ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะรับประทานแบบสดกัน แต่แตงโมก็ยังสามารถทำเป็นน้ำผลไม้หรือเมนูอาหารอื่นได้ นอกจากนี้แตงโมยังมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการอีกด้วย
แตงโม
ไปรู้จักกับ แตงโม
แตงโม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrullus lanatus) เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง เป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก จัดเป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่
แตงโมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทวีปแอฟริกา ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียงสมัยราชวงศ์ถัง และชาวมัวร์ได้นำแตงโมไปสู่ทวีปยุโรป แตงโมแพร่หลายเข้าสู่ทวีปอเมริกาพร้อมกับชาวแอฟริกาที่ถูกขายเป็นทาส
พบกรดอะมิโน citrulline เป็นครั้งแรกในแตงโม โดยแตงโมมี citrulline มาก ถ้ารับประทานในปริมาณหลายกิโลกรัมจะตรวจพบในเลือดของผู้รัประทานได้ ซึ่งจะเข้าไปรบกวนวัฏจักรยูเรีย
ประโยชน์ทางโภชนาการของการรับประทาน แตงโม
แตงโมเป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ แถมยังประกอบด้วยน้ำ ประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรับประทานแล้วยังทำให้เราไม่ขาดน้ำอีกด้วย โดยแตงโมนั้นมีประโยชน์ทางโภชนาการดังนี้
ไลโคปีน (Lycopene) เป็นแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ชนิดหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ และยังสร้างสีแดง สีส้มและสีเหลืองในผักและผลไม้ การรับประทานอาหารที่มีไลโคปีนเป็นประจำยังยังช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย
วิตามินเอ (Vitamin A) มีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน การมองเห็น และการทำงานของอวัยวะสำคัญ ๆ
วิตามินซี (Vitamin C) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระนี้จำเป็นสำหรับสุขภาพผิวและการทำงานของภูมิคุ้มกัน
ซิทรูลีน (Citrulline) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบในแตงโมซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
โพแทสเซียมช่วยบำรุงระบบประสาทภายในร่างกายของเราช่วยลดการเกิดเหน็บชาและการเกิดตะคริว
วิตามินบี 5 เป็นส่วนประกอบในโมเลกุลของโคเอนไซม์เอซึ่งเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของกรดไขมันจึงจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด
เส้นใย (Fibers) จึงมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหาร ระบบลำไส้ และระบบขับถ่ายทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลข้างเคียงจากการรับประทานแตงโมมากเกินไป
การรับประทานแตงโมที่พอดีควรทานอยู่ในปริมาณ 1 ถ้วยต่อวันหรือในปริมาณ 154 กรัม ซึ่งคนที่รับประทานแตงโมอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วเนื่องจากแตงโมมีดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) ประมาณ 72 และมีปริมาณน้ำตาลร้อยละ 2 ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จึงควรเลือกรับประทานแตงโมควบคู่กับอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และการรับประทานแตงโมอาจมีผลกระทบกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน อาจจะส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และโรคภูมิแพ้ อาจจะส่งผลให้เป็นโรคลมพิษและระบบทางเดินหายใจมีปัญหาหรือหายใจลำบากได้ ดังนั้นเราควรรับประทานแตงโมให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
อ้างอิงจาก sciplanet
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น